เพื่อประกอบการเรียน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560
ความหมายของการประกอบอาหาร
ความหมายของการประกอบอาหาร
การประกอบอาหารเป็นการทำอาหารให้สุกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ต้ม นึ่ง ผัด ทอด อบ ตุ๋น ฯลฯ รวมถึงการปรุงอาหารให้มีรสชาติ กลิ่น สี ลักษณะต่างๆ เพื่อนำมารับประทาน
ประโยชน์ของการประกอบอาหาร มีดังนี้
1. ทำให้อาหารสุก สะอาด ปราศจากเชื้อโรค อาหารที่สุกด้วยการปรุงผ่านความร้อนสูง และเป็นเวลานานพอสมควร เป็นที่แน่ใจว่า เชื้อโรคและพยาธิถูกทำลายไปแล้ว จึงจะสะอาดเพียงพอ สำหรับการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ
2.สงวนคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ส่วนมากสารอาหารที่มักจะสูญเสียไปในขั้นตอนการประกอบอาหารก็คือ วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบีและวิตามินซี ดังนั้นในระหว่างประกอบอาหารจึงต้องใช้เทคนิควิธีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของอาหารไว้ให้มากที่สุด
3. ทำให้อาหารย่อยง่ายขึ้น เครื่องปรุงรสที่ใช้ในการประกอบอาหาร และการทำให้อาหารสุกมีผลต่อความนุ่มและย่อยง่ายของอาหาร
4. ทำให้สะอาดมีรสชาติและกลิ่นดีขึ้น การประกอบอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ ทำให้รสชาติและกลิ่นของอาหารเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเมื่ออาหารสุก จึงทำให้รับประทานอาหารมากขึ้น
5. ป้องกันการเน่าเสีย จึงทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้นเอนไซม์และแบคทีเรียเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ดังนั้น เมื่อต้องการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์และแบคทีเรีย และทำให้อาหารเก็บได้นานมากขึ้น ก็สามารถทำได้โดยประกอบอาหาร
วิธีการประกอบอาหาร
วิธีการประกอบอาหาร
การประกอบอาหารให้สุกด้วยความร้อนมีหลายวิธี เช่น การต้ม นึ่ง ทอด ซึ่งทุกวิธีมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องทำให้อาหารสุก แต่จะมีคุณค่าต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้น ๆ และวิธีการปรุง ซึ่งมีหลักปฏิบัติและข้อดีข้อเสีย ดังนี้
การประกอบอาหารให้สุกด้วยความร้อนมีหลายวิธี เช่น การต้ม นึ่ง ทอด ซึ่งทุกวิธีมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องทำให้อาหารสุก แต่จะมีคุณค่าต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้น ๆ และวิธีการปรุง ซึ่งมีหลักปฏิบัติและข้อดีข้อเสีย ดังนี้
1. การปิ้ง ย่าง เผา หรืออบ คือการทำอาหารให้สุกโดยใช้ความร้อนจากเตาไฟโดยตรง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
* การปิ้ง นำอาหารที่ต้องการทำให้สุกวางลงบนตะแกรงเหล็กสำหรับปิ้งบนเตาถ่านที่มีความร้อนไม่มาก ปิ้งกลับไปกลับมาในช่วงเวลาสั้น ๆ วิธีนี้มักใช้กับอาหารแห้ง เช่น ข้าวเกรียบ เนื้อเค็ม ปลาแห้ง
* การย่าง มีวิธีการทำคล้ายกับการปิ้ง แต่ใช้เวลานานกว่าเพื่อให้อาหารสุกระอุทั่วกัน เช่น ย่างไก่ ย่างหมู ย่างปลาสด ก่อนย่างควรทาน้ำมันหรือห่อใบตอง ย่างข้างละประมาณ 2 นาที พลิกกลับไปมา ถ้าต้องการให้มีกลิ่นหอมให้ใส่กาบมะพร้าวลงในเตาไฟ
* การเผา เป็นการทำให้สุกโดยการใช้ไฟแรง วางของที่จะเผาลงบนไฟพลิกกลับไปกลับมา ให้สุกทั้งด้านนอกและด้านใน เช่น ปลาเผา กุ้งเผา มันเทศเผา เป็นต้น
* การอบ เป็นการทำให้สุกโดยใช้ไอความร้อนจากเตาอบ เช่น การอบไก่ ให้ตั้งเตาอบให้ร้อนก่อนประมาณ 15 นาที จึงเอาไก่เข้าอบ ควรทาน้ำมันลงบนเนื้อไก่ที่จะอบ ใช้ความร้อนประมาณ 190 องศาเซลเซียส หรือ 375 องศาฟาเรนไฮต์ ในเวลา 20-30 นาที หากต้องการให้ไก่แห้งกว่านั้นควรลดไฟ และยืดเวลาออกไปประมาณ 10 นาที ทั้งนี้ควรพิจารณาลักษณะของไก่ที่จะอบว่าเป็นตัวหรือเป็นชิ้น ถ้าเป็นชิ้น ระยะเวลาในการอบควรจะสั้นลง และลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
ข้อดี -------- การปิ้ง การย่าง การเผา และการอบ เป็นการประกอบอาหารที่สงวนคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากกว่า วิธีอื่นๆ
ข้อเสีย ------- ถ้าใช้เวลาในการประกอบอาหารนานเกินไป จะทำให้อาหารแห้งมาก ไหม้ ดูไม่น่ารับประทานและรสชาติไม่อร่อย
การต้ม
การต้ม เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยน้ำเดือด วิธีต้ม คือ ต้มน้ำให้เดือดก่อน แล้วค่อยใส่อาหารลงในภาชนะ แต่อาหารบางชนิด เช่น เนื้อวัว ต้องใส่เนื้อในภาชนะ ใส่น้ำก่อนต้มก็ได้รอจนอาหารสุกแล้ว ยกลง ทิ้งไว้ให้อุ่นก่อนตักมารับประทาน
ข้อดี --- การต้มเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับใช้เคี่ยวเนื้อสัตว์ให้เปื่อย เช่น ต้มเครื่องในหมู
ข้อเสีย--- ในขณะที่อาหารแช่อยู่ในน้ำ สารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินซีจะละลายออกมาทำให้ สูญเสียคุณค่าสารอาหาร
ข้อดี --- การต้มเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับใช้เคี่ยวเนื้อสัตว์ให้เปื่อย เช่น ต้มเครื่องในหมู
ข้อเสีย--- ในขณะที่อาหารแช่อยู่ในน้ำ สารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินซีจะละลายออกมาทำให้ สูญเสียคุณค่าสารอาหาร
การนึ่ง
3 การนึ่ง เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยการใช้ไอน้ำจากน้ำเดือด โดยใช้หม้อนึ่งหรือลังถึง วิธีการนึ่ง คือ ใส่น้ำลงในหม้อนึ่งชั้นล่างแล้ว วางอาหารบนลังถึงชั้นบน ปิดฝาให้สนิท นำไปตั้งไฟไอน้ำจาก น้ำเดือดจะทำให้อาหารสุก
ข้อดี ----การนึ่งจะช่วยสงวนคุณค่าสารอาหารได้ดีกว่าการต้ม เพราะสารอาหารไม่ละลายไปกับน้ำ และควรปิดฝาหม้อนึ่งให้สนิท
ข้อเสีย--- หากใช้เวลาในการนึ่งนานเกินไปจะทำให้สูญเสียคุณค่าสารอาหาร
การลวก
การลวก เป็นการทำให้อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ใช้กับอาหารประเภทผักเพื่อ ป้องกันการสูญเสียวิตามิน วิธีการลวก คือ ล้างผักให้สะอาด ต้มน้ำให้เดือดโดยใช้ไฟแรง เติมเกลือเล็กน้อยก็ได้ ใส่ผักในเวลาอันรวดเร็ว จากนั้นตักขึ้น แช่น้ำเย็น 1-2 นาที แล้วตักใส่จาน ข้อควรระวัง คือ การลวกผักให้ปฏิบัติ โดยคำนึงถึงชนิดของผักเป็นหลัก ผักบางชนิดไม่เหมาะกับการลวกก็ให้ต้ม ผัด หรือนึ่งแทน
ข้อดี ---- การลวกเหมาะสำหรับการประกอบอาหารประเภทผัก เพราะจะช่วยสงวนคุณค่าสารอาหารไว้ได้มาก
ข้อเสีย--- วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับประกอบอาหารผักที่มีเนื้อแข็ง เช่นน ฟัก ฟักทอง เผือก มัน เพราะผักจะไม่สุกหรือยังมีเชื้อโรคบางชนิดหลงเหลืออยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำให้ท้องเสียได้
การตุ๋น
การตุ๋น คล้ายการนึ่ง แต่ใช้หม้อ 2 ชั้นซ้อนกัน หม้อใบนอกใส่น้ำ หม้อใบในใส่ของที่จะตุ๋น การนึ่งจะใช้ภาชนะวางเหนือน้ำ ส่วนการตุ๋นจะใส่อาหารลงในภาชนะแล้ววางลงในน้ำ
ข้อดี---- อาหารที่ปรุงด้วยวิธีีนี้จะสุก นุ่ม ปราศจากเชื้อโรค เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงทารก ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยข้อเสีย-- วิธีนี้ใช้เวลาในการประกอบอาหารมาก และไม่เหมาะสำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์
การผัด
การผัด คือ การทำให้อาหารสุกโดยใช้น้ำมันเพียงเล็กน้อย แต่ใช้ความร้อนมากไฟแรง โดยนำเนื้อหรือผักลงผัดในกระทะ ใช้ตะหลิวคนกลับไปมา ในระยะเวลา สั้น ๆ ถ้าใช้ฝาปิดครอบขณะผัดจะช่วยรักษาคุณค่าวิตามินบางชนิดไว้ได้
ข้อดี----อาหารจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าการทอด
ข้อเสีย ---ถ้าใช้เวลานานเกินไปจะทำให้สูญเสียคุณค่าสารอาหารได้
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560
การทอด
การทอด คือ การทำให้กรอบ หรือสุกด้วยน้ำมันร้อน ๆ
วิธีการทอดควร ปฏิบัติดังนี้
+ การทอดเนื้อ ใช้กระทะตั้งใส่น้ำมันผสมเนยเหลวเล็กน้อย เพื่อให้มีกลิ่น หอม รสดี และสีเหลืองสวย ใส่เนื้อในขณะที่น้ำมันร้อน ใช้ไฟปานกลาง
+ การทอดปลา ใช้กระทะก้นแบน ใส่น้ำมันท่วมปลา ควรให้น้ำมันร้อนก่อน ใส่ปลา ใช้ไฟปานกลาง
+ การทอดผัก ส่วนใหญ่จะชุบแป้งหรือไข่ทอดใช้น้ำมันมาก ใช้ไฟปานกลาง เมื่อทอดสุกแล้วซับน้ำมันด้วยกระดาษซับมัน
ข้อดี--- การทอด ทำให้อาหารมีความกรอบ รสชาติอร่อย น่ารับประทาน
ข้อเสีย--- วิธีนี้ จะทำให้อาหารสูญเสีย วิตามิน A วิตามินE และ วิตามินK ซึ่งละลายในไขมัน มีปริมาณไขมันสูง ถ้ารับประทานทุกมื้อ ไปขันจะสะสมในร่างกาย ทำให้อ้วนง่าย หรือเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
+ การทอดเนื้อ ใช้กระทะตั้งใส่น้ำมันผสมเนยเหลวเล็กน้อย เพื่อให้มีกลิ่น หอม รสดี และสีเหลืองสวย ใส่เนื้อในขณะที่น้ำมันร้อน ใช้ไฟปานกลาง
+ การทอดปลา ใช้กระทะก้นแบน ใส่น้ำมันท่วมปลา ควรให้น้ำมันร้อนก่อน ใส่ปลา ใช้ไฟปานกลาง
+ การทอดผัก ส่วนใหญ่จะชุบแป้งหรือไข่ทอดใช้น้ำมันมาก ใช้ไฟปานกลาง เมื่อทอดสุกแล้วซับน้ำมันด้วยกระดาษซับมัน
ข้อดี--- การทอด ทำให้อาหารมีความกรอบ รสชาติอร่อย น่ารับประทาน
ข้อเสีย--- วิธีนี้ จะทำให้อาหารสูญเสีย วิตามิน A วิตามินE และ วิตามินK ซึ่งละลายในไขมัน มีปริมาณไขมันสูง ถ้ารับประทานทุกมื้อ ไปขันจะสะสมในร่างกาย ทำให้อ้วนง่าย หรือเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)